หลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้โรงเรียนอนันตา



มอนเทสซอรี (Montessori) ระดับเตรียมอนุบาล (Toddlers 2-3 years)

            ช่วง 3 ขวบปีแรกถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาการความเป็นมนุษย์และพัฒนาศักยภาพของแต่ละบุคคล พัฒนาการทางกายภาพของทารกเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ และ ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ใกล้ชิดควรให้ความสำคัญ เช่นเดียวกับ พัฒนาการทางด้านจิตใจภายใน   

              ช่วงเวลานี้ของเด็ก  ดร.มาเรีย มอนเทสซอรี ได้กล่าวถึงเด็กในช่วงเวลานี้ว่า "เป็นตัวอ่อนทางจิตวิญญาณ" ซึ่งเป็นช่วง 3 ขวบปีแรก หลังจากเกิด เมื่อสติปัญญาของเด็กได้ถูกสร้างขึ้นแล้ว เมื่อเด็กได้ซึมซับวัฒนธรรม และภาษา จากสภาพแวดล้อมที่พวกเค้าถือกำเนิด ช่วงนี้ถือเป็นช่วงสำคัญในการกำหนดลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล การเรียนรู้ทางสังคม  และ การพัฒนาแก่นแท้ของจิตวิญญาณ

          ถ้าผู้เลี้ยงดูมีความเข้าใจพัฒนาการของเด็ก และ พัฒนาการจิตใจของมนุษย์ จะทำให้การจัดเตรียมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับความต้องการของทารกได้ดี และ ช่วยให้เด็กพึ่งพาตนเองได้ มีพัฒนาการทางด้านการคลื่อนไหวที่สัมพันธ์กับความคิด และการเรียนรู้ด้านภาษาได้เต็มศักยภาพ

          สังคมสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี หรือระดับเตรียมอนุบาล (2-3 ขวบ) โรงเรียนอนันตาจัดการเรียนรู้ในรูปแบบของมอนเทสซอรี(Montessori)ในระดับเตรียมอนุบาล ผ่านสภาพแวดล้อมที่หลากหลายที่จัดเตรียมไว้อย่างเหมาะสม รวมถึงกำหนดจำนวนนักเรียนไม่เกิน 32 คนต่อห้องเรียนและคุณครู  2 คนต่อห้องเรียน เพื่อให้คุณครูได้เข้าถึงศักยภาพของเด็กๆ ทุกคนอย่างทั่วถึง  โดยเด็กจะได้รับการฝึกฝนการทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อและระบบประสาทสัมผัสต่างๆ, การพึ่งพาตนเอง, การเรียนรู้ด้านภาษา, และ การเรียนรู้การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับเด็กอื่นๆในห้องเรียน

                                                                                        

                                                                                  

   ในห้องเรียนเด็กเล็กเราจะจัดสภาพแวดล้อมโดยรวมให้เหมือนบ้านของเด็กๆมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและงดงาม เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยอบอุ่นเพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนา ทักษะต่างๆได้อย่างรวดเร็ว

สภาพแวดล้อมที่เป็นระเบียบภายนอกจะช่วยสร้างความเป็นระบบระเบียบภายในให้กับเด็ก คุณครูจะจัดเตรียมสภาพแวดล้อมและงานที่ตอบสนองต่อความต้องการพัฒนาทักษะต่างๆของเด็กดังนี้

-
ความสามารถในการพึ่งพาตนเองในชีวิตประจำวัน
-
การควบคุมการเคลื่อนไหว
-
การคงสมาธิ
-
การสำรวจโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5
-
ทักษะด้านสังคม
-
ทักษะการพูดเพื่อการสื่อสาร
-
ทักษะความเข้าใจด้านคณิตศาสตร์และภาษาเพื่อใช้ด้านการอ่านและการเขียนอย่างมีความสุข

   เด็กจะมีอิสรภาพในการเลือกงานตามความสนใจและสามารถทำงานตามจังหวะเวลาของแต่ละคน
ด้วยวิธีการนี้เด็กจะมีความสุขในการเรียนรู้มีความลุ่มลึกในการทำงานโดยไม่มีกรอบเวลาบังคับเพราะเลือกงานตามความสนใจเด็กจึงจดจ่อกับงานที่ได้เลือกได้นาน
ค้นพบและเรียนรู้ได้หลากหลายมากกว่าการถูกกำหนดตารางการเรียนรู้โดยผู้ใหญ่ในห้องเรียนทั่วไป 


มอนเทสซอรี (Montessori) ระดับอนุบาล(Casa 3-6 Years)


          ระดับอนุบาลโรงเรียนอนันตาใช้หลักสูตรมอนเทสซอรี (Montessori) ในการเรียนการสอน ซึ่งสอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย ปี 2560 ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยนำมาจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา จัดประสบการณ์ เรียนรู้ให้กับนักเรียนวัย 36 ปี  ผู้เรียนระดับปฐมวัย จะได้รับการเตรียม ความพร้อมทางด้าน ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ผ่านกระบวนการและแนวทางตามหลักการของมอนเทสซอรี (Montessori) 

          “ความฉลาดโดยไม่รู้ตัว เริ่มต้นมาจากการรับรู้สิ่งต่าง” ดร.มาเรีย มอนเทสซอรี ได้กล่าวไว้ และเธอได้ตระหนักสติปัญญาของเด็กนั้นแตกต่างจากผู้ใหญ่อย่างชัดเจน ตั้งแต่              แรกเกิด – 6 ขวบ เด็กจะสามารถสัมผัสและรับรู้ถึงสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้อย่างดี โดยไม่ต้องสั่งการ เป็นไปโดยธรรมชาติ ผ่านกระบวนการที่ธรรมชาติมอบให้มนุษย์มี 2 ประการคือ

             1.“จิตซึมซับ”    (absorbent mind)  เป็นจิตที่สามารถรับสิ่งที่มีอยู่รอบตัว โดยไม่แยกแยะ เหมือนกล้องถ่ายภาพ ไม่ตีความ

             2."ช่วงเรียนรู้ไว"  (Sensitive Period) เป็นการเรียนรู้ที่เร็วที่สุดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  การเรียนรู้ไว จดจ่อประสาทสัมพันธ์

ซึ่งการเรียนรู้แบบนี้เรียกว่า Auto Education โดยเราจะเห็นได้ว่ากระบวนการดังกล่าวทำให้เด็กเล็กๆ สามารถพูดภาษาแม่ได้โดยที่ยังไม่ได้เรียนหนังสือ      

          เด็กอายุ 3-6 ขวบ จะอยู่ภายใต้กระบวนการการสร้างตัวตน และพัฒนาเป็นบุคคลของตนเอง การประยุกต์ใช้ปรัชญาของมอนเทสซอรี และอุปกรณ์มอนเทสซอรี ที่มีการออกแบบเฉพาะ จะช่วยให้เด็กสามารถซึมซับความรู้และช่วยในการสร้างตัวตนของเขาได้อย่างสมบูรณ์ โดยการเรียนแบบมอนเทสซอรีในระดับอนุบาล จะแบ่งออกเป็น 4 หมวด คือ

1) หมวดชีวิตประจำวัน (Practical Life)
2) หมวดประสาทรับรู้ (Sensorial)
3) หมวดภาษา (Language)
4) หมวดคณิตศาสตร์ (Mathematics)

          นอกเหนือจากหมวดหลักแล้ว ยังประกอบไปด้วย ศิลปะสร้างสรรค์, เพลง, วิทยาศาสตร์, ภูมิศาสตร์ และสังคมวัฒนธรรม การได้มาซึ่งวัฒนธรรมของเด็ก เป็นศูนย์กลางกับพัฒนาที่มีลักษณะ ในการผลักดันพัฒนาการระนาบที่ 1

                1.หมวดชีวิตประจำวัน (Practical Life)   

                เป็นหมวดงานที่ลักษณะเป็นการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งแวดล้อมภายในบ้านกับห้องเรียน กล่าวคือ เป็นกิจกรรมที่อยู่ในบ้าน เช่น การตัก การเท การพับ การวาด การขัด การล้าง การเช็ด การติดกระดุม เป็นต้น โดยเป็นลักษณะงานที่มีลำดับขั้นตอน งานเคลื่อนไหวเบื้องต้น

 

                                                                 

                                                                       

                                  โดยหมวดงานนี้มีวัตถุประสงค์ คือ

1.      พัฒนาการควบคุมการเคลื่อนไหว ผ่านกล้ามเนื้อ โดยเป็นการเคลื่อนไหวที่มีวัตถุประสงค์

2.      สร้างสมาธิ

3.      พึ่งพาตนเอง

โดยในหมวดงานนี้ ยังประกอบไปด้วย 4 กิจกรรม คือ การควบคุมการเคลื่อนไหว, การดูแลตนเอง, การดูแลสิ่งแวดล้อม และมารยาทและสมบัติผู้ดี

           2.  หมวดประสาทรับรู้ (Sensorial) 

           การรับรู้แบ่งเป็น 5 ประเภท คือ ตา (จักษุประสาท)  หู (โสตประสาท)  จมูก (นาสิกประสาท)  ปาก ลิ้น (ชิวหาปราสาท)  สัมผัส (ผัสสะประสาท) เป็นหมวดงานที่เป็นพื้นฐาน ของสติปัญญา เป็นของจริงที่ป็นนามธรรมแต่ทำเป็นรูปปธรรมสัมผัสได้ เป็นหมวดงานที่เป็นระบบระเบียบ ตอบสนองแนวโน้มความเป็นมนุษย์ในการเป็นระบบ (order)

              

               วัตถุประสงค์

              -  เพื่อพัฒนาความประณีตในระบบประสาทรับรู้ให้มากยิ่งขึ้น    

            3.  หมวดภาษา (Language)
         
ประกอบด้วย
3 หมวดงานคือ ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาอ่าน โดยเด็กสามารถจำสัญลักษณ์และเสียงได้  โดยมีเทคนิค 3 ขั้นตอน

คือ 1. ขั้นแนะนำ 2.  ฝึกหัดปฏิบัติ  3.  ให้เด็กปฎิบัติ

                                        

           4.  หมวดคณิตศาสตร์ (Mathematics)
         
ภาษาคณิตศาสตร์เป็นภาษาสากล มี
5 ระดับ

          4.1  สัญลักษณ 0-9 และปริมาณ 1-10

             4.2  การนับต่อเนื่อง 1-1000 รู้ปริมาณและคุณภาพ  การนับรูปร่างรูปทรง  การนับตู้โซ่

          4.3 การจำขึ้นใจ  โดยจำผลขององค์ประกอบตัวเลขที่สำคัญของผลบวก  ผลลบ  ผลคูณ  ผลหาร

          4.4  หนทางสู่นามธรรม  

              

   ซึ่งงานเหล่านี้จะช่วยพัฒนาระบบความคิดภาษาความเป็นระบบระเบียบการทำงานเป็นขั้นตอนรวมถึงมารยาทที่ดี
ทำให้เด็กได้สัมผัสถึงความสำเร็จและความภูมิใจเมื่อทำงานนั้นๆเสร็จได้ด้วยตนเอง ในห้องเรียนมอนเทสซอรี่ เปิดโอกาสให้นักเรียนมีอิสระภาพในการเลือกงานการเคลื่อนไหวโดยสามารถทำงานตามจังหวะและเวลาของตนเอง  ในห้องเรียนมอนเทสซอรี่ จัดห้องเรียนแบบคละอายุ(Mixed-age classroom) 
ทำให้เด็กๆ เข้าใจและทำตามกฎของสังคม จึงทำให้เกิดการช่วยเหลือกันและร่วมมือกัน อีกทั้งกำหนดจำนวนนักเรียนประมาณ 30-35 คนต่อห้องเรียนและคุณครู  2 คนต่อห้องเรียน เพื่อให้คุณครูได้เข้าถึงศักยภาพของเด็กๆทุกคนอย่างทั่วถึง  

 

มอนเทสซอรี(Montessori) ระดับประถม (Montessori Elementary 6-12)

       การเรียนการสอนแบบมอนเทสซอรีระดับประถม (Montessori Elementary 6-12) จะประกอบไปด้วยห้องเรียนมอนเทสซอรีะดับประถมต้น ( Lower elementary 6-9) และ ห้องเรียนมอนเทสซอรีะดับประถมปลาย (Upper elementary 9-12) โดยกำหนดจำนวนนักเรียนประมาณ 30-35 คนต่อห้องเรียนและคุณครู  2 คนต่อห้องเรียน  เพื่อให้คุณครูได้เข้าถึงศักยภาพของเด็กๆทุกคนอย่างทั่วถึง อีกทั้งจะสร้างโอกาสให้เด็กได้มีสมาธิกับสิ่งต่างๆ มีอิสระในการเลือก หรือวางแผนงานด้วยตนเอง มีการค้นคว้า ทำให้เด็กมีความสามารถในการจดจ่อได้อย่างดีเยี่ยม 

    เด็กอายุในช่วงระหว่าง 6-12 ปี จะเป็นช่วงที่เด็กต้องมีมุมมองอย่างกว้างขวางเทียบเท่าจักรวาล ซึ่งจักรวาลหมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาล จากดวงดาวที่ไกลที่สุดไปจนถึงสิ่งที่ใกล้ตัวที่สุด

    มอนเทสซอรี เรียกวิชานี้ว่า การศึกษาจักรวาล(Cosmic Education)  เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับจักรวาลทั้งหมด เพื่อให้เด็กได้เห็นการเชื่อมโยงกันของทุกสิ่ง ไม่เรียนวิชาใดวิชาหนึ่งแยกจากกัน เพราะในชีวิตจริงเราไม่สามารถแยกได้ว่าเราจะนำวิชาอะไรไปใช้ในการดำเนินชีวิต แต่เป็นการใช้ความรู้ทั้งหมดที่มีมาบูรณาการร่วมกัน อีกทั้งยังเป็นการฝึกทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ โดยผ่านบทเรียนที่ยิ่งใหญ่และบทเรียนกุญแจ (Great lessons and Key Lessons) มหากาล์ปและบทเรียนซึ่งเป็นกุญแจสำคัญ ในการพัฒนาศักยภาพของเด็กในพัฒนาการระนาบที่

   มหากาล์ป 5 เรื่องเป็นการเล่าเพื่อให้เด็กเห็นภาพรวม (Big Picture) ของสิ่งที่เกิดขึ้น เป็นการสร้างแรงบันดาลใจ เกิดแรงจูงใจ อยากเรียนจากภายในตัวเด็กเอง การเล่านั้นจะนำสู่บทเรียน ซึ่งสามารถโยงได้กับวิชาต่างๆ ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการโดยที่เนื้อหาในแต่ละวิชา จะลงรายละเอียดและมีความท้าทายมากขึ้นตามระดับชั้นเรียนที่สูงขึ้น ประกอบด้วย

มหากาล์ปเรื่องที่ 1 เป็นเรื่องกำเนิดของจักรวาล  จะกล่าวถึง จุดกำเนิดของสรรพสิ่ง ในจักรวาล แม้ดวงอาทิตย์และโลกของเรา ดวงดาว แล้วยังพูดถึงกฎสิ่งที่ต้องดำเนินต่อไปในโลก  กฎความร้อน กฎของแข็ง ของเหลวและก๊าซ

มหากาล์ปเรื่องที่ 2 กำเนิดชีวิตทั้งพืชและสัตว์

มหากาล์ปเรื่องที่ 3 กำเนิดมนุษย์ มนุษย์มีสิ่งที่ติดตัวมา คือ พร 2 ประการ คือ สติปัญญาและความรัก

มหากาล์ปเรื่องที่ 4 การสื่อสารผ่านสัญลักษณ์

มหากาล์ปเรื่องที่ 5 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ จำนวนตัวเลข 

   กระบวนการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Active Learning) โดยครูเป็นผู้สร้างความสนใจหรือความน่าสงสัย ท้าทายให้เด็กตั้งคำถามหลังการเล่าเรื่องหรือการนำเสนอบทเรียน หลังจากนั้นให้เด็กได้ค้นหาคำตอบด้วยตนเองจากแหล่งข้อมูลต่างๆ โดยเด็กจะทำงาน( Work)หรือค้นคว้า ผ่าน อุปกรณ์มอนเทสซอรี โดยงานภายในห้องเรียนที่ครูตระเตรียมไว้นั้นล้วนเป็นงานที่มีเป้าหมายชัดเจนโดยประกอบไปด้วยหมวดงานต่างๆดังนี้


          1.
หมวดภูมิศาสตร์ (Geography)

          2.
หมวดชีววิทยา (Biology)
          3
หมวดประวัติศาสตร์ (History)
          4.
หมวดภาษา (Language)
          5.
หมวดคณิตศาสตร์ (Mathematic)
          6.
หมวดเรขาคณิต (Geometry)
          7. ดนตรี-ศิลปะ (Music and Art ) 

 

              

              

 เมื่อเด็กทำงาน  เด็กจะรวบรวมนำสิ่งที่ได้เรียนรู้และคิดสร้างสรรค์มานั้น สรุปรวบยอด บันทึก และนำเสนอด้วยรูปแบบที่หลากหลาย ตั้งแต่การพูดรายงาน การเขียนรายงาน การจัดนิทรรศการ การสาธิต รวมถึงการแสดงต่างๆ ก็นับเป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอเช่นกัน 

ซึ่งงานเหล่านี้จะช่วยพัฒนาศักยภาพของเด็ก รวมถึงตอบสนองพัฒนาการในระนาบที่ 2 จุดไฟแห่งจินตนาการ จิตเหตุผล คิดวิเคราะห์หลักเหตุผลได้ ทำให้เด็กได้สัมผัสถึงความสำเร็จและความภูมิใจเมื่อ วางแผน ค้นคว้างานนั้นๆเสร็จได้ด้วยตนเอง

Gallery