หลักการจัดการศึกษาของโรงเรียน

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด

การจัดการเรียนรู้ตามมาตรา 22 ของพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่กำหนดว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียน มีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถ พัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพนั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม การเรียนรู้จากการที่ผู้เรียนเคยเป็นผู้รอรับความรู้มาเป็นผู้แสวงหาความรู้ และพัฒนาตนเอง ในขณะที่ครูจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้สอนหรือผู้บอก ความรู้ เป็นผู้เอื้ออำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

ความหมาย

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุดหรือผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เอาชีวิตจริงและเงื่อนไขการรับรู้ของผู้เรียนเป็นตัวตั้ง ผู้เรียนมีอิสรภาพ ได้รับการส่งเสริมให้พัฒนาเต็มศักยภาพของความเป็นมนุษย์ ทั้งจิตใจ ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ผู้เรียนได้รับการพัฒนาแบบองค์รวม ได้รับการฝึกให้มีศักยภาพในการสร้างรูปแบบการคิด ผู้เรียนเป็นผู้ กระทำกิจกรรมการเรียนรู้ได้ถูกต้องแม่นยำด้วยความรู้สึกที่ดี อันเป็นการ สร้างบุคลิกภาพที่ดีงาม เรียนรู้วิธีการเรียนรู้ เรียนรู้จากการปฏิบัติของตนเอง คิดอย่างมีระบบและมีวิจารณญาณ อยู่รวมกับคนอื่นอย่างมีความสุข เรียนรู้ ตลอดชีวิต และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี มองในเชิงหลักการว่า “การจัดการเรียนรู้ที่เอาชีวิตจริงของผู้เรียนเป็นตัวตั้ง เรียนรู้เพื่อสร้างปัญญา ให้รู้จักตนเองรู้จักโลก สามารถพึ่งตนเองได้ทั้งทางเศรษฐกิจ จิตใจ สังคม อยู่รวมกันอย่างมีดุลยภาพ เรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง มีความสุข สนุกสนาน และเกิดฉันทะในการเรียนรู้”

ศาสตราจารย์สมุน อมรวิวัฒน์ มีแนวคิดว่า “การเรียนรู้ที่ผู้เรียน มีอิสรภาพ ได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพของความเป็นมนุษย์ เรียนรู้ อย่างมีความสุข เน้นกระบวนการคิด ปฏิบัติได้จริง สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ สอดคล้องกับคติ สอนให้ทำ นำให้คิด ลงมือทำ เรียนรู้สอน ตนเอง เอาความจริงเป็นตัวตั้ง เอาวิชาเป็นตัวประกอบ”

       

หลักการในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด หรือผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

  1. การปรับความคิดของครูให้มองนักเรียนบนพื้นฐานของความรัก ความเข้าใจว่านักเรียนมีศักยภาพในการเรียนรู้ พร้อมเอื้ออำนวยความสะดวก จัดบรรยากาศให้เอื้อต่อผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ มีอิสระในการคิด ลงมือ ปฏิบัติจริง
  2. การจัดประสบการณ์เรียนรู้ยึดหลักการพัฒนาผู้เรียนให้ถึง ศักยภาพสูงสุด คือผู้เรียนได้พัฒนาตน ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และสังคม หลังเรียนหรือหลังฝึกกิจกรรม มีความรู้สึกที่ดีเกี่ยวกับตนเอง ภาคภูมิใจในผลการปฏิบัติของตน
  3. การยึดชีวิตจริงของผู้เรียนเป็นหลักในการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ เน้นให้ผู้เรียนมีศักยภาพในการคิดเชิงระบบ และคิดอย่าง มีวิจารณญาณ มีรูปแบบการคิดของตนเอง ค้นพบตนเอง สามารถเชื่อมโยง ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ต่างๆ ไปใช้ในชีวิตจริงได้
  4. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ยึดหลักความแตกต่างระหว่าง บุคคล
  5. การจัดประสบการณ์โดยใช้คุณธรรมนำความรู้ บูรณาการ คุณธรรมในการจัดประสบการณ์ทุกกลุ่มวิชา และทุกขั้นตอนในการจัดการ เรียนรู้ ถือว่าครูทุกคนมีหน้าที่พัฒนาผู้เรียนให้ประพฤติตนยึดหลักคุณธรรม และพัฒนาให้มีค่านิยมอันพึงประสงค์
  6. การออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ใช้กระบวนการเรียน รู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับธรรมชาติวิชา และวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียน ใช้วิธีวัดและประเมินด้วยวิธีการที่หลากหลายตามสภาพจริง และถือว่า การวัดและประเมินเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนรู้ และใช้กระบวนการ วิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้


ตัวบ่งชี้ของการกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด

ศูนย์พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน (พ.ค.ร.) สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2541:3-4) ได้พัฒนาตัวบ่งชี้การจัด กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุด หรือการเรียนการสอนที่เน้นผู้ เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยกำหนดตัวบ่งชี้การเรียนของผู้เรียนจำนวน 9 ข้อ และตัวบ่งชี้การสอนของครูจำนวน 10 ข้อ เพื่อใช้เป็นเครื่องตรวจสอบว่า เมื่อใดก็ตามที่เกิดการเรียนรู้หรือการสอนตามตัวบ่งชี้เหล่านี้ เมื่อนั้นได้เกิด การเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุด หรือการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง แล้วดังนี้

ตัวบ่งชี้การเรียนของผู้เรียน

  1. มีประสบการณ์ตรงสัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  2. ฝึกปฏิบัติจนค้นพบความถนัดและวิธีการของตนเอง
  3. ทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนการเรียนรู้จากกลุ่ม
  4. ฝึกคิดอย่างหลากหลายและสร้างสรรค์ จินตนาการ ตลอดจน ได้แสดงออกอย่างชัดเจนและมีเหตุผล
  5. ได้รับการเสริมแรงให้ค้นหาคำตอบแก้ปัญหาทั้งด้วยตนเอง และร่วมด้วยช่วยกัน
  6. ได้ฝึกค้น รวบรวมข้อมูลและสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเอง
  7. เลือกทำกิจกรรมตามความสามารถ ความถนัดและความสนใจ ของตนเองอย่างมีความสุข
  8. ฝึกตนเองให้มีวินัยและรับผิดชอบในการทำงาน
  9. ฝึกประเมิน ปรับปรุงตนเองและยอมรับผู้อื่น ตลอดจนสนใจ ใฝ่หาความรู้อย่างต่อเนื่อง

ตัวบ่งชี้ของครู

  1. เตรียมการสอนทั้งเนื้อหาและวิธีการ
  2. จัดสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศที่ปลุกเร้า จูงใจ และเสริมแรง ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
  3. เอาใจใส่ผู้เรียนเป็นรายบุคคล และแสดงความเมตตาต่อผู้เรียน อย่างทั่วถึง
  4. จัดกิจกรรมและสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้แสดงออกและคิด อย่างสร้างสรรค์
  5. ส่งเสริมให้ผู้เรียนฝึกคิด ฝึกทำ และฝึกปรับปรุงตนเอง
  6. ส่งเสริมกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้จากกลุ่มพร้อมทั้งสังเกต ส่วนดี และปรับปรุงส่วนด้อยของผู้เรียน
  7. ใช้สื่อการสอนเพื่อฝึกการคิด การแก้ปัญหาและการค้นพบความรู้
  8. ใช้แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและเชื่อมโยงประสบการณ์กับ ชีวิตจริง
  9. ฝึกฝนกริยา มารยาท และวินัยตามวิถีวัฒนธรรม
  10. สังเกตและประเมินพัฒนาการของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง

ดร.ทิศนา แขมมณี มีแนวคิดว่า “การเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียน เป็นศูนย์กลาง หมายถึงการเรียนการสอนที่ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญที่สุด กล่าวคือผู้เรียนเป็นผู้มีส่วนร่วม ในกิจกรรมการเรียนรู้ ทั้งทางร่างกาย สติปัญญา สังคมและอารมณ์ ได้มีโอกาสแสวงหาความรู้ ข้อมูล คิดวิเคราะห์ และสร้างความหมาย ความเข้าใจ ในสาระ และกระบวนการต่างๆ ด้วยตนเอง รวมทั้งได้ลงมือปฏิบัติจัดกระทำและนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจำวัน”



หลักการในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด หรือผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

  1. การปรับความคิดของครูให้มองนักเรียนบนพื้นฐานของความรัก ความเข้าใจว่านักเรียนมีศักยภาพในการเรียนรู้ พร้อมเอื้ออำนวยความสะดวก จัดบรรยากาศให้เอื้อต่อผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ มีอิสระในการคิด ลงมือปฏิบัติจริง
  2. การจัดประสบการณ์เรียนรู้ยึดหลักการพัฒนาผู้เรียนให้ถึง ศักยภาพสูงสุด คือ ผู้เรียนได้พัฒนาตน ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และสังคม หลังเรียน หรือหลักฝึกกิจกรรม มีความรู้สึกที่ดีเกี่ยวกับตนเอง ภาคภูมิใจในผลการปฏิบัติของตน
  3. การยึดชีวิตจริงของผู้เรียนเป็นหลักในการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ เน้นให้ผู้เรียนมีศักยภาพในการคิดเชิงระบบ และคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีรูปแบบการคิดของตนเอง ค้นพบตนเอง สามารถเชื่อมโยง ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ต่างๆ ไปใช้ในชีวิตจริงได้
  4. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ยึดหลักความแตกต่างระหว่าง บุคคล
  5. การจัดประสบการณ์โดยใช้คุณธรรมนำความรู้ บูรณาการ คุณธรรมในการจัดประสบการณ์ทุกกลุ่มวิชา และทุกขั้นตอนในการจัด การเรียนรู้ ถือว่าครูทุกคนมีหน้าที่พัฒนาผู้เรียนให้ประพฤติตนยึดหลัก คุณธรรม และพัฒนาให้มีค่านิยมอันพึงประสงค์
  6. การออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ใช้กระบวนการเรียนรู้ ที่หลากหลายสอดคล้องกับธรรมชาติวิชา และวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียน ใช้วิธีวัดและประเมินด้วยวิธีการที่หลากหลายตามสภาพจริง และถือว่า การวัดและประเมินเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนรู้ และใช้กระบวนการ วิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้


บทบาทหน้าที่ของผู้ปกครอง

นโยบายของโรงเรียน คือการมุ่งพัฒนา ครู นักเรียน ผู้ปกครองและ ชุมชน ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ท่ามกลางความแตกต่าง อย่างมีความสุข ควบคู่กับการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนจึงมีหน้าที่ แจ้งให้ครูผู้ปกครองและนักเรียนทราบล่วงหน้าถึงเป้าหมายของโรงเรียน อนันตาได้มีความเข้าใจที่ตรงกันในเรื่องต่างๆ ดังนี้ ซึ่งนับว่าเป็นส่วนสำคัญยิ่ง ผู้ปกครองแต่ละท่านจึงมีหน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบในส่วนที่โรงเรียน ได้กำหนดไว้ให้ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายข้างต้นโรงเรียนคาดหวังให้ ผู้ปกครองยึดมั่นในแนวทางการปฏิบัติเดียวกันกับทางโรงเรียนพร้อมจะ แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันให้ความร่วมมือในการพัฒนาบุตรหลาน เข้าร่วมกิจกรรมกับทางโรงเรียน สนใจศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่อง ต่างๆ และทบทวนวิถีชีวิตตนเองอยู่เสมอ มีการประสานงานกันอย่างเป็น กัลยาณมิตรเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่มีความสุขให้เกิดขึ้นในรั้วโรงเรียน ร่วมกัน


1. การแต่งกาย

โรงเรียนขอความร่วมมือ จากท่านผู้ปกครองในเรื่องการแต่งกาย ขณะที่มารับส่งนักเรียนและร่วมกิจกรรมของโรงเรียน ดังนี้

  • การแต่งกาย ยึดหลักความเหมาะสมกับกาลเทศะ (เวลา-สถานที่) เพื่อให้เกียรติกับสถานที่และผู้ปฏิบัติงาน
  • ขอความร่วมมืองดการสวมเสื้อสายเดี่ยว เสื้อกล้าม กางเกงขาสั้น และกระโปรงสั้น

2. การสื่อสารระหว่างบ้านและโรงเรียนมีช่องทางต่างๆ ดังนี้

ช่องทางออฟไลน์ :

  • ระดับอนุบาล (สารสัมพันธ์), ระดับประถมศึกษา (สมุดจดการบ้าน)
  • หนังสือแจ้งเรื่องต่างๆ ที่ทางโรงเรียนออกให้ โดยมีกำหนดการ ออกหนังสือในแต่ละกิจกรรม ล่วงหน้า 7 วัน
  • กระดานข่าวประชาสัมพันธ์ในโรงเรียน บริเวณลานจอดรถ หน้าห้องอำนวยการ
  • ข้อความสั้นผ่านโทรศัพท์มือถือ (SMS) กรณีนัดหมายสำคัญ เร่งด่วนหรือแจ้งเตือน
  • การโทรติดต่อกันกรณีสำคัญเร่งด่วนหรือแจ้งเตือน
  • จุลสารรอบรั้วอนันตา 1 ฉบับ/ภาคเรียน (เริ่มปีการศึกษา 2556)

ช่องทางออนไลน์ :

เว็บไซต์ของโรงเรียน: www.anantaa.ac.th

  • ข่าวประกาศ/ข่าวกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งภาพคลิปวีดีโอ และไฟล์เสียงที่เกี่ยวข้อง
  • ข้อมูลแหล่งความรู้และข่าวสารในกลุ่มกัลยาณมิตร
  • Email : anantaa_school@yahoo.co.th ฯลฯ

สื่อ Social Network ของโรงเรียน : www.facebook.com/anantaaschool



       

ข้อปฏิบัติที่สำคัญ

ขอความร่วมมือให้ผู้ปกครองตรวจสอบซองสื่อสาร และสมุดจด การบ้านเป็นประจำทุกวันลงชื่อรับทราบทุกครั้งหลังจากได้รับทราบข่าวสาร จากทางโรงเรียนและให้ข้อมูลนักเรียนขณะอยู่บ้านเพื่อการแลกเปลี่ยน ข้อมูลกับทางโรงเรียนอย่างสม่ำ เสมอรวมทั้งแจ้งปัญหาต่างๆ ที่พบข้อ เสนอแนะหรือรายละเอียดต่างๆ เช่น งดว่ายน้ำ หรือ รับประทานยา กรณีเจ็บป่วย เป็นต้น โดยทางโรงเรียนจะยึดถือสิ่งที่ผู้ปกครองแจ้งเป็นลาย ลักษณ์อักษรเป็นสำคัญ