มาทำความรู้จัก Oxford Young Learners Placement Test กันนะค่ะ

 

Oxford Young Learners Placement Test คือ ข้อสอบวัดระดับออนไลน์ ที่ได้รับการออกแบบโดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด (Oxford University Press) เพื่อนำมาใช้ในการประเมินทักษะและความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียน อายุตั้งแต่ 7 -12 ปี ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐาน CEFR (Common European Framework of Reference for Languages) ซึ่งเป็นมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษ ของประชากรของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป โดยผลการทดสอบนี้จะแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ A0, A1, A2 และ B1

CEFR (Common European Framework of Reference for Languages) กรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษ ของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป

คำจำกัดความโดยสังเขป ของระดับทักษะความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ (English Proficiency) ตามมาตรฐาน CEFR ของสหภาพยุโรป

ที่บ่งชี้ถึงความสามารถในการใช้ภาษาอังฤษในแต่ละระดับ

 

CEFR (Common European Framework of Reference for Languages) เป็นการกำหนดมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษ ของประชากรของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป เพื่อให้โรงเรียนทุกๆ โรงเรียน ในแต่ละประเทศที่เป็นชาติสมาชิกในสหภาพยุโรป ได้ออกแบบหลักสูตร และอำนวยการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ ที่มุ่งเน้นในการพัฒนา ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ (English Proficiency) ให้กับประชากรของตนเอง เพื่อให้ประชากรของทุกๆ ประเทศในสหภาพยุโรป สามารถใช้ภาษาอังกฤษ เป็นภาษากลาง ในการสื่อสาร แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และองค์ความรู้ต่างๆ ตลอดจนสามารถประสานงานเพื่อดำเนินธุรกรรม และธุรกิจใดๆ ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปัจจุบัน กรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษ CEFR นั้น ถือว่าเป็นมาตรฐานในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนภาษาอังกฤษที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก โดยกรอบมาตรฐาน CEFR ได้แบ่งความสามารถทางภาษาอังกฤษเป็น 6 ระดับ ดังต่อไปนี้

Proficient User:

    C1 (Mastery):   สามารถเข้าใจภาษาอังกฤษผ่านการฟัง และการอ่านได้อย่างคล่องแคล่ว ครบถ้วน สามารถสรุปใจความ จากการรับฟัง และการอ่านจากแหล่งข้อมูลหลายๆ แหล่งได้ สามารถนำเสนอความคิดเห็น ข้อโต้แย้ง เหตุผลประกอบต่างๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว สามารถแนะนำพูดคุยภาษาอังกฤษในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง คล่องแคล่วเป็นธรรมชาติ

    C2 (Efficient Operational Proficiency,EOP):  สามารถเข้าใจความหมายที่แท้จริง ในประโยคภาษาอังกฤษที่มีความซับซ้อนได้ สามารถพูดคุยภาษาอังกฤษได้เป็นธรรมชาติ โดยมีการติดขัดให้เห็นได้ไม่บ่อยนัก สามารถใช้ภาษาอังกฤษในสังคม การเรียนหนังสือ และการประกอบอาชีพ ได้อย่างถูกต้อง คล่องแคล่ว สามารถใช้ภาษาอังกฤษที่มีโครงสร้างประโยคสที่มีความซับซ้อนในการสื่อสารได้

Independent User:

    B2 (Vantage):   สามารถเข้าใจใจความสำคัญของภาษาอังกฤษที่ซับซ้อนทั้งในส่วนของข้อเท็จจริง และอารมณ์ความรู้สึกชองภาษาได้ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษที่มีความเกี่ยวข้องกับอาชีพ และความสนใจของตนเอง สามารถพูดคุยภาษาอังกฤษได้ค่อนข้างเป็นธรรมชาติ ในระดับที่สามารถสื่อสารกับเจ้าของภาษาได้ โดยไม่ทำให้คู่สนทนาเกิดความเครียด

    B1 (Threshold):   สามารถเข้าใจใจความสำคัญของภาษาอังกฤษในโครงสร้างพื้นฐาน ในเรื่องที่ตนเองมีความคุ้นเคย เช่น เรื่องในที่ทำงาน โรงเรียน เวลาว่าง ฯลฯ สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการเดินทางได้ สามารถสร้างประโยคพื้นฐานในการสื่อสารในเรื่องที่ตนเองสนใจได้ สามารถเล่าเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์ เหตุการณ์ ความมุ่งหวังของตนเองเป็นภาษาอังกฤษได้ สามารถอธิบายเหตุผล และความคิดเห็นของตนเองสั้นๆ ได้

Basic User:

    A2 (Waystage):   สามารถเข้าใจประโยคภาษาอังกฤษที่มักจะพบเจอบ่อยๆ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องส่วนตัว ครอบครัว การซื้อสินค้า การเดินทาง ฯลฯ ได้ สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับกิจวัตรประจำวันได้ สามารถอธิบายความต้องการของตนเองโดยใช้ประโยคพื้นฐานได้

    A1 (Breakthrough):   สามารถเข้าใจประโยคภาษาอังกฤษที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยเฉพาะในส่วนของที่เป็นข้อเท็จจริง และรูปธรรม สามารถแนะนำตนเอง และผู้อื่นได้ สามารถถามตอบคำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย คนที่รู้จัก สิ่งของที่ตนเองมีได้ สามารถโต้ตอบด้วยภาษาอังกฤษได้ ในกรณีที่คู่สนทนาพยายามช่วยพูดอย่างช้าๆ ชัดๆ

 

แบบทดสอบของ Oxford Young Learners Placement Test

นั้นเป็นแบบทดสอบที่เป็น Computerized Adaptive Test ที่มีการปรับระดับความยากง่ายของข้อสอบให้สอดคล้องกับศักยภาพของนักเรียนโดยอัตโนมัติ (กรณีที่นักเรียนทำข้อสอบได้ถูกต้องต่อเนื่องกัน ระบบก็จะคัดเลือกข้อสอบที่ยากขึ้นมาให้นักเรียนทำในข้อถัดไป ในทางกลับกันในกรณีที่นักเรียนทำผิดต่อเนื่องกัน ระบบก็จะคัดเลือกข้อสอบที่ง่ายขึ้นแทน) ซึ่งระบบการทดสอบแบบนี้ เป็นระบบการทดสอบที่ทันสมัย ที่สามารถประเมินระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษของนักเรียนได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ในขณะที่นักเรียนจะสามารถทำข้อสอบได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่รู้สึกเครียดอีกด้วย นอกจากนี้ รูปแบบของข้อสอบ Oxford Young Learners Placement Test ยังได้รับการออกแบบให้ประกอบไปด้วยตัวการ์ตูนสีสันสดใส ทำให้นักเรียนรู้สึกสนุก และมีทัศนคติที่ดีต่อการทำข้อสอบ

การเตรียมตัวก่อสอบ:

การทดสอบ Oxford Young Learners Placement Test มีวัตุประสงค์ในการวัดทักษะ และระดับศักยภาพทางภาษาอังกฤษที่แท้จริง (Authentic English Proficiency) ของนักเรียน ดังนั้นตัวแบบทดสอบจึงได้รับการออกแบบให้นักเรียนสามารถเข้าใจคำสั่ง และวิธีทำข้อสอบได้โดยง่าย (ซึ่งจะระบุอยู่ในตอนต้นของข้อสอบแต่ละส่วน) ดังนั้นนักเรียนจึงไม่มีความจำเป็นต้องเตรียมตัวล่วงหน้าก่อนทำข้อสอบแต่อย่างใด นักเรียนสามารถอ่านคำสั่งและวิธีการทำข้อสอบได้ด้วยตนเอง

เนื้อหาข้อสอบ: ข้อสอบ Oxford Young Learners Placement Test ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

ส่วนที่ 1: เป็นการทดสอบความสามารถในการใช้ภาษาของนักเรียน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนย่อย คือ คำศัพท์ การนำคำศัพท์ไปใช้ และไวยากรณ์

 

 

ส่วนที่ 2: เป็นการทดสอบทักษะการฟัง ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนย่อย เช่นกัน คือ การทดสอบทักษะการฟังเพื่อจับใจความสำคัญ การทดสอบทักษะการฟังผ่านบทสนทนาแบบสั้น และเรื่องราวที่อยู่ในรูปแบบประโยคที่ยาวขึ้น

ระยะเวลาในการทดสอบ:

เนื่องจากแบบทดสอบ Oxford Young Learners Placement Test มีวัตถุประสงค์ในการวัดระดับทักษะ และศักยภาพทางภาษาอังกฤษที่แท้จริงของนักเรียน ด้วยเหตุนี้ จึงไม่มีนโยบายในการกำหนดระยะเวลาในการทดสอบที่ตายตัว แต่อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วนักเรียนจะใช้เวลาประมาณ 30 – 40 นาที ในการทดสอบแต่ละครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับทักษะภาษาอังกฤษของนักเรียน หากนักเรียนมีทักษะทางภาษาอยู่ในระดับสูง ก็อาจจะต้องใช้เวลาในการทดสอบยาวนานขึ้น เนื่องจากระบบจะพยายามให้นักเรียนทำข้อสอบที่อยู่ในระดับที่ยากขึ้นเรื่อยๆ (โดยเฉพาะส่วนของทักษะการฟัง) เพื่อประเมินระดับทักษะทางภาษา และศักยภาพที่แท้จริงของนักเรียน

 

ผลการทดสอบ:

ประกอบด้วยคะแนน 2 ส่วน รวมทั้งหมดประมาณ 80 คะแนน โดยสามารถเทียบระดับมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษ CEFR  ได้ CEFR level (Pre-A1(A0) to B1)  ซึ่งสามารถเทียบผลคะแนนทดสอบ Oxford Young Learners Placement Test ตามตารางด้านล่าง

 

 

ที่มา:http://www.act-english.com,  http://www.oxfordenglishtesting.com

 

 

 

 

 



 

 

Previous